1) การตั้งเป็นกระทรวงทำให้สามารถกำหนดตัวเจ้าภาพรับผิดชอบได้อย่างชัดเจน ทำให้การตรวจสอบและประเมินผลหน่วยงานราชการชัดเจนยิ่งขึ้น 2) เป็นการลดขนาดและภาระของสำนันายกรัฐมนตรีเดิมที่มีขนาดใหญ่โต โดยการโอนหน่วยงานต่างๆ ไปยังกระทรวงใหม่ 3) ไม่เป็นการเพิ่มจำนวนคน เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดจำนวนรัฐมนตรีไว้แน่นอน และจะใช้การเกลี่ยอัตรากำลังข้าราชการ 4) การกีฬาและการท่องเที่ยวสามารถเกื้อหนุนกันได้ โดยการจัดมหกรรมกีฬาก็จะช่วยให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 5) ภารกิจด้านการท่องเที่ยวต้องประสานงานกับส่วนราชการไม่ว่าจะเป็น กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดังนั้นการตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นกระทรวงจะทำให้การประสานงานง่ายกว่าเดิมที่เป็นรัฐวิสาหกิจ 6) เดิมงบประมาณท่องเที่ยวยังกระจายไปตามกระทรวงต่างๆ หากตั้งเป็นกระทรวงจะทำให้มีความชัดเจนขึ้น 7) การจัดตั้งเป็นกระทรวงทำให้สามารถออกกฎกระทรวง และมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการดูแลรับผิดชอบโดยตรง อีกทั้งโครงสร้างกระทรวงกีฬามีเจ้าหน้าที่ดูแลประจำแต่ละจังหวัดอยู่แล้ว สามารถให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นดูแลด้านการท่องเที่ยวควบคู่ไปได้ด้วยเลยเพื่อมิให้เกิดความสิ้นเปลืองและซ้ำซ้อน 8) การจัดตั้งเป็นกระทรวงแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว | 1) การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นกระทรวงไม่สอดคล้องกับหลักประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารราชการแผ่นดิน เพราะทำให้ระบบราชการใหญ่โต มีสายการบังคับบัญชามากขึ้น หน่วยงานควรมีโครงสร้างที่คล่องตัว มีการบริหารเชิงภาคเอกชนมากขึ้น สามารถให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจแบบ CEO ได้ 2) เป็นการใช้งบประมาณประจำและกำลังคนในการดูแลหน่วยงานเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากความซ้ำซ้อนจากการเพิ่มหน่วยงานในกระทรวง 3) การท่องเที่ยวนั้นโดยตัวของมันเองไม่ได้เติบโตมาจากความสามารถของทางภาคราชการ แต่เติบโตมาโดยความสามารถของภาคเอกชน จึงไม่ควรเปลี่ยนจากสิ่งที่ไม่ควรเป็นระบบราชการย้อนกลับไปเป็นระบบราชการ 4) ขัดต่อหลักการกระจายอำนาจ เพราะภารกิจจะตกไปอยู่ที่หน่วยงานส่วนภูมิภาค แทนที่ท้องถิ่นจะดำเนินการเองโดยตรง 5) การรวมภารกิจด้านการท่องเที่ยวและการกีฬาไว้ด้วยกันไม่เหมาะสม เพราะภารกิจทั้งสองไม่สอดคล้องกัน การท่องเที่ยวเป็นด้านเศรษฐกิจ ส่วนการกีฬาเป็นด้านสังคม 6) หากรัฐมนตรีคนใดถนัดเรื่องการท่องเที่ยวก็จะไม่สนับสนุนเรื่องการกีฬา และกลับกันหากรัฐมนตรีคนใดถนัดเรื่องการกีฬาก็จะไม่สนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยว |